ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ของ สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งแรกนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและลาว และยังส่งเสริมสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างสองประเทศ สะพานแห่งนี้อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าซึ่งแต่เดิมขนถ่ายกันโดยใช้แพขนานยนต์ และยังเป็นการเปิดทางออกสู่ทะเลโดยสะดวกให้กับประเทศลาว สะพานแห่งนี้ยังคงความสำคัญในด้านการค้า และยังเป็นสัญญลักษณ์แห่งเจตจำนงของออสเตรเลียในการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก่อนการเปิดใช้สะพาน สถิติการนำเข้า - ส่งออกผ่านด่านศุลกากรหนองคาย ในปีงบประมาณ 2536 มีมูลค่ารวม 3.6 พันล้านบาท ในปี 2537 มูลค่าได้เพิ่มขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.8 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น 5.3 พันล้านบาทในปี 2538 สถิติล่าสุดในปีงบประมาณ 2554 แสดงมูลค่ารวมการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านศุลกากรหนองคายซึ่งสูงถึง 43 พันล้านบาทด้านการคมนาคม ในปีงบประมาณ 2537 มีพาหนะเข้าประเทศไทยผ่านด่านมิตรภาพไทย - ลาว จำนวน 13,518 คัน และออกจำนวน 13,455 คัน ต่อมาภายหลังจากเปิดใช้สะพานแห่งนี้ จำนวนพาหนะเข้า-ออก ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปีงบประมาณ 2538 มีพาหนะเข้า 47,293 คัน และออก 48,658 คัน สถิติล่าสุดประจำปีงบประมาณ 2554 มีพาหนะเข้าถึง 419,659 คันและออก 424,841 คันด้านจำนวนจำนวนคนเข้า - ออก ผ่านด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ในปีงบประมาณ 2537 มีคนเดินทางเข้าจำนวน 55,085 คน และ ออก 50,100 คน ต่อมาในปีงบประมาณ 2538 ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นโดยมีคนเดินทางเข้าถึง 293,126 คน และออก 292,462 คน สำหรับในปีงบประมาณ 2554 มี คนเดินทางเข้าจำนวน 2,713,495 คน และออก 2,657,100 คน[1]

ใกล้เคียง

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)